Patra Fern Garden
Translate
กำแพงแห่งความสุข
มุมสวยๆในร้านกัณธะมาลา เชียงใหม่
บีโกเนียขึ้นจากการชำใบในซอกอิฐมอญ
กำแพงอิฐมอญที่ก่อไว้ประมาณ 6 เดือน เริ่มมีมอสส์และเฟินนานาชนิดขึ้น
กำแพงเก่าที่มีเฟินก้านดำและบีโกเนียขึ้นปะปนกัน
มอสส์และเฟินก้านดำที่ขึ้นเอง
ช้อปปิ้งต้นไม้ในอินโด ^_^
ฉันเคยสงสัยว่าเรือนไม้ไผ่อย่างนี้จะอยู่ได้นานซักแค่ไหนกัน เพราะจากประสบการณ์ของตัวเองที่เคยใช้ไม้ไผ่ลำใหญ่ๆ เป็นราวแขวนกระถางในสวน ผ่านไปเพียงแค่ปีกว่าก็ผุหักจนถล่มลงมาเละตุ้มเป๊ะ พังเร็วกว่าที่คาดไว้มาก >_< แต่เพื่อนชาวอินโดบอกว่าเรือนต้นไม้ของเขามีอายุใช้งานอย่างน้อยก็ 5 ปี ที่สำคัญคืออย่าให้โดนฝน เพราะงั้นจึงต้องใช้พลาสติกคลุม แต่ฉันคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น อายุของไม้ไผ่ หรือวิธีการป้องกันเนื้อไม้ให้ปลอดภัยจากมอดที่เป็นปัญหาสำคัญ
มาดูพรรณไม้ที่เขาขายกันบ้างดีกว่า ทรีเฟินต้นใหญ่ๆ อย่างนี้มีขายกันทั่วไป
ราคาถูกจนน้ำลายไหล 555... แต่เอากลับมาเมืองไทยคงเลี้ยงไม่รอด
Asplenium daucifolium นานๆ จึงจะพบซักที
ทรีเฟินต้นนี้อะแมซซิ่งมากๆ !!!
พอเริ่มเหนื่อยๆ หิวๆ ก็ฝากท้องกับพ่อค้าหาบเร่ข้างทาง อิอิ...
หน้าตาเหมือนขนมบ้าบิ่นบ้านเรา
หางสิงห์อินโดมีหลายแบบทั้งขนนิ่มขนแข็ง
ช้องเหลี่ยมที่นักสะสมไทยชื่นชอบกัน ^_^
ร้านจำหน่ายกล้วยไม้ป่าที่ทำให้คนรักกล้วยไม้สติแตก !!!
บีโกเนีย ปักชำและจำหน่ายกันในร้านเลย
Nepenthes gymnamphora หม้อข้าวหม้อแกงลิงพันธุ์ไฮแลนด์ที่พบเฉพาะบนเกาะชวาเท่านั้น
เคยย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ ได้หลายเดือนอยู่ แต่ในที่สุดก็บินกลับอินโด... >_<
เฟินข้าหลวงอิเรียนจายาตอนนี้ในอินโดก็ยังหายาก
ต้นที่พบนี่สวยเป็นพิเศษเพราะมีลักษณะของไม้กลายพันธุ์ด้วย
ร้านจำหน่ายไม้ประดับแห่งนี้มีการออกแบบชั้นวางต้นไม้ที่เก๋ไก๋มาก
ในอินโดนีเซียมีการใช้ประโยชน์จากเฟินได้หลากหลาย
กระถางที่ทำจากต้นทรีเฟินแบบนี้พบเห็นได้ทั่วไป บางครั้งก็นำไปแกะสลักลวดลายแปลกตา
ทรีเฟินสับละเอียดใช้เป็นวัสดุปลูกต้นไม้ได้
สวนเฟินก้านดำในอินโดนีเซีย...ง่ายยังกะปลูกผัก !!!
รู้หรือไม่ว่าเฟินก้านดำที่แสนบอบบางและดูไฮโซสำหรับคนไทยนั้น
ขึ้นง่ายราวกับวัชพืชในอินโดนีเซีย!
จะด้วยสภาพอากาศเป็นใจหรืออย่างไรก็แล้วแต่ อินโดนีเซียจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เฟินก้านดำที่ประสบความสำเร็จมาก สำหรับคนรักเฟินที่สามารถปรับสภาพแวดล้อมในการปลูกเลี้ยงได้อย่างเหมาะสม คงจะพอทราบแล้วว่าเฟินก้านดำขึ้นง่ายขนาดไหน! แต่จุดอ่อนของเราคือสภาพอากาศที่ร้อนตับแลบ โดยเฉพาะกลางฤดูร้อนซึ่งน้องเฟินหลายต้นต้องพากันบินกลับอินโดเป็นแถวๆ...
เฟินก้านดำกองามๆ ปลูกจำหน่ายกันในถุง! เรื่องราคาไม่ต้องพูดถึง...
แล้วทำไมเฟินก้านดำที่จำหน่ายกันในเมืองไทยถึงแพงนักหนา ?
ประการแรก >> แม้เฟินที่จำหน่ายในอินโดนีเซียจะมีราคาย่อมเยา แต่ผู้นำเข้ามีต้นทุนอื่นๆ อีกจิปาถะ ถึงจะแพง แต่ก็คงคุ้มกว่าที่คุณจะเสียค่าเครื่องบินไปหิ้วมาเองอยู่แล้ว...
ประการที่สอง >> เฟินก้านดำในเมืองไทยมีต้นทุนในการปลูกเลี้ยงสูงกว่าอินโด โดยเฉพาะเฟินที่เลี้ยงจนงดงามเต็มฟอร์ม
ประการสุดท้าย >> คำตอบทั้งสองข้อสำหรับราคาแพงอย่างสมเหตุสมผล ไม่นับแพงบ้าเลือด! หรือแพงหูฉี่! ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ซื้อเอง
ครั้งหนึ่งฉันได้มีโอกาสไปชมสวนเฟินก้านดำของเกษตรกรอินโด ยิ่งทำให้เข้าใจว่าทำไมเฟินชนิดนี้สำหรับพวกเขาจึงแสนจะธรรมดา เพราะปลูกกันง่ายยังกะสวนผัก !
การเพาะสปอร์ก็ทำกันแบบลูกทุ่ง แค่หว่านสปอร์บนดินเหนียวแล้วใส่ถูงแขวนตามภาพ
(สงสัยนักเพาะบ้านเราคงจะพิถีพิถันเกินไปหน่อย เลยทำสู้พี่อินโดไม่ได้ 555...)
(สงสัยนักเพาะบ้านเราคงจะพิถีพิถันเกินไปหน่อย เลยทำสู้พี่อินโดไม่ได้ 555...)
จากนั้นก็ย้ายต้นกล้าลงแปลง (ดูยังกะแปลงผัก *_*)
พอน้องเฟินเบ่งบานเต็มแปลง ป้าแกก็จะย้ายไปปลูกลงแปลงไม้ใหญ่
เวลาขายก็ถอนขึ้นมาใส่ถุงหรือกระถางเท่านั้นเอง !
พอได้ไปดูเฟินก้านดำที่อินโดก็เกิดความฮึดขึ้นมา... (เหมือนทุกครั้งที่ได้เห็นเฟินสวยๆ ของคนอื่น) พยายามกลับมาปรับปรุงเทคนิควิธีเลี้ยงของตัวเอง แต่แก้อะไรก็แก้ได้ ยกเว้นอย่างเดียวคือสภาพอากาศนี่แหละ เฮ้อ... ยิ่งฤดูร้อนอย่างนี้อยากย้ายไปทำสวนเฟินที่อินโดจริงๆ... (ถ้าไม่กลัวแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด! *_*)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)